วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๔ องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 4

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources)

                หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปธรรมและนามธรรม มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการพักผ่อนและประกอบกิจกรรมนันทนาการ อันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆได้

จุดหมายปลายทาง (Destination)

หมายถึง สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นสถานที่เฉพาะหรือสถานที่ทั่วไป หรือเป็นหลายๆ ที่ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

สิ่งดึงดูดใจทางด้านการท่องเที่ยว (Tourist Attraction)

                หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อความพึงพอใจ

สรุปนิยามของแหล่งท่องเที่ยว

                สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ อาจเป็นสถานที่ใดที่หนึ่งเฉพาะ หรือหลายๆที่ก็ได้


ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว

ขอบเขต (Scope)

-          - จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) คือสถานที่ดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยว ทำให้ต้องมุ่งไปเยือน

-          - จุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination) คือสถานที่แวะพัก เป็นเวลาสั้นๆ

ความเป็นเจ้าของ

-          - การจัดแบ่งแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นตามความเป็นเจ้าของ ทำให้ทราบว่า แหล่งเงินสนับสนุนมาจากไหน หรือรายได้ต่าง ๆ

-          - เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว

1.รัฐบ          1.รัฐบาล

          2.องค์การที่ไม่หวังผลกำไร

          3.เอกชน

-         - อุทยานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ดำเนินงานโดยรัฐบาล เงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานอาจมาจากเงินงบประมาณ การเก็บค่าเข้าชม ภาษี หรือบริจาค

-          - วังสวนผักกาดอยู่ในความควบคุมดูแลและดำเนินงานโดยองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร คือ มูลนิธิจุมพฎบริพัตร

-          - ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก ไนต์คลับ สวนสัตว์ บางแห่งดำเนินงานโดยเอกชน ที่มุ่งหวังผลกำไรอันอาจจะมาจาก ค่าเข้าชม ค่าเครื่องเล่น ค่าอาหารและน้ำ ค่าขายของที่ระลึก

 

ความคงทนถาวร (Permanency) แบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว

-          - ประเภทที่เป็นสถานที่ (Sties) มีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ

-          - งานเทศกาลมักมีช่วงเวลาการดำเนินงาน อาทิ เทศกาลสงกรานต์ จัดเฉพาะวันที่ 12-14 เมษายน

 

ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

-          - แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการหรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกัน

-          - แหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชนและเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

 

การแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยวของ ททท.

                แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ = สถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติม

 

มรดกโลกในไทย

-          1. ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1991

-          2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1991

-          3. อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1991

-          4. แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1992

-          5. ดงพยาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.2005

 

กรมศิลปากรแบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1.       - โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากขาดซึ่งโบราณสถานนี้ไปจะเป็นการสูยเสียอย่างใหญ่หลวง

2.       - อนุสรณ์สถานแห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่สร้างเพื่อบุคคลหรือเรื่องราวสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติ ซึ่งประชาชนจะต้องร่วมรำลึกถึง

3.       - อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมอันทรงคุณค่า

4.       - ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหมายแน่นทางสถาปัตยกรรม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การวางผังเมือง และสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น โดยมีอาคาร สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ต่างๆ รวมอยู่ด้วย

5.       - อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง พื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เกิดเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

6.       - นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ เมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง สาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ และองค์ประกอบของเมือง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และชีวิตความเป็นอยู่ อาทิ จังหวัดอยุธยา

7.       - ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณสถาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น