บทที่ 3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
· - แรงจูงใจในวิชาจิตรวิทยา เป็นตัวกำหนดบุคลิกของบุคคล
· - แรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว เป็นแนวคิดผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา และ แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา
· - แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวหมายถึงเครือข่าย
พลังทางด้านจิตวิทยา
· - แรงจูงใจที่จะมาพักผ่อนยังเกาะสมุยของนักท่องเที่ยวจากสวีเดน อาจเกิดความต้องการพักผ่อน
· - ต้องการออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ
· - ต้องการสัมผัสกับฝืนทราย
พลังทางด้านสังคมวิทยา
· - การเลือกมาพักผ่อนยังเกาะสมุยแทนที่จะไปอาบแดดยังชายหาดริเวียราของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ใกล้กว่า เป็นพลังด้านสังคมวิทยา
· - พลังทางด้านสังคมวิทยาคือ ความมีหน้ามีตา ต้องการที่จะได้ชื่อว่า โก้เก๋ ทันสมัย ไม่ตกยุค เพราะการมาเที่ยวในเอเชีย กำลังเป็นสมัยนิยมของคนหนุ่มสาวในยุโรป
· - การเดินทางมายังเอเชียต้องใช้ความสามารถ และอุทิศตัวมากกว่าการเดินทางไปท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศใกล้บ้าน
การวิเคราะห์แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นไปนครวัด
· - ยึดหลักทางเครือข่ายพลังทางด้านชีวิวิทยาและพลังทางด้านสังคมเป็นตัวตั้งเพื่อการเข้าใจถึงแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแต่ละคน
· - พลังทางด้านจิตวิทยา คือ ต้องการพักผ่อนและหาที่แปลกใหม่ ลดความวิตกกังวล
ทฤษฏีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierachy of need ของ Abeaham Maslow)
· - มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ
· - มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็น
· - ความต้องการไม่มีวันจบสิ้น
· - เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งถูกตอบสนองแล้ว จะมีอีกอย่างมาแทนที่
- ความต้องการที่มุ่งเน้นในเรื่องของความภาคภูมิใน (self-esteem)
· - ความต้องการทางด้านอัตตา (ego needs)
· - ต้องการเกิดความยอมรับจากสังคม
Lundberg (Lendberg , Tourism Business , pl27)เชื่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุดของคน
· - ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่
· - ต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ
· - กระทำสิ่งที่ท้าทาย สิ่งแปลกใหม่จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
· - ต้องการพบเห็นสิ่งแปลกใหม่ สถานทีใหม่ๆ
การท่องเที่ยวสามารถตอบสนองความต้องการในระดับสูงสุดได้สำหรับบางคน
· การเล่น Jet boat การล่องแก่ง เดินทางทั่วประเทศ เล่นบันจี้จ้ำ ฯลฯ
2.ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)
Philip Pearce ประยุกต์ของ Maslow
· - ความต้องการเริ่มมีความลึกซึ้ง ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
· - ความต้องการในชั้นเสรีวิทยาจะต้องได้รับการตอบสนองก่อน ความต้องการในระดับสูงจึงจะเกิด
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton คล้ายกับของ Maslow
1. - หลีกหนีสภาพแวดล้อมที่จำเจ
2. - สำรวจและประเมินตนเอง
3. - พักผ่อน
4. - ความต้องการเกียรติภูมิ
5. - ถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6. - หาญาติ
4.Swarbrooke
1. - แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physical)
2. - แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. - การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง (Emotional)
4. - การท่องเที่ยวเพื่อได้มาถึงสถานภาพ
5. - แรงจูงใจพัฒนาตนเอง
6. - แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการ โดย Pearce , Morrision และ Rutledge (1998)
1. - แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม = ได้แก่ มรดกโลก เป็นสิ่งแวดล้อมสีน้ำเงิน(ทะเล) และสิ่งแวดล้อมสีเขียว(ป่า เขา น้ำตก)
2. - แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น = ความต้องการพบปะคนในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดมีมากขึ้น โดยเฉพาะนักเดินทางวัยหนุ่มสาว นักเดินทางประเภทสะพายเป้ (backpacker)
3. - แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน = การได้เห็น วัฒนธรรมอื่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเดินทางชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวจีนและชาวเกาหลี ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับวัฒนธรรมต่างชาติ
4. - แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธ์ภาพภายในครอบครัว = การท่องเที่ยวบางรูปแบบสามารถเห็นได้ว่าช่วยส่งเสริมความสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. - แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย = ชายทะเลที่มีหาดทรายกับแสงแดด การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การไปชมปะการัง หรือการเดินป่าดูนก เป็นต้น
6. - แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ = นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเป็นพิเศษกำลังมีมากขึ้น เช่น เดินทางไปเรียนภาษา ทำอาหาร ดำน้ำ ตกปลา ตีกอล์ฟ เป็นการท่องเที่ยวที่เพิ่มพูนทักษะ
7. - แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี = การบำบัดในศูนย์สปาต่างๆ การเข้าคอร์สลดน้ำหนัก
8. - แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย = โรค ผู้ร้าย การก่อการร้าย นักท่องเที่ยวจะเลี่ยงไม่ไปเที่ยวประเทศที่มีปัญหาความไม่สงบทางการเมือง
9. - แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม = ความสนใจในสภาพสังคมเป็นองค์ประกอบหลังอย่างหนึ่งของแรงจูงใจมนุษย์ ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวสามารถสร้างภาพพจน์ให้กับบุคคลได้
10. - แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง = การกิน การดื่ม การซื้อของ เพื่อฉลองความสำเร็จหรือเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ขาดไปในโลกที่มีแต่งานและข้อจำกัดต่าง ๆ
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภท Back packers กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในออสเตรีย แรงจูงใจคือ
1. การหลีกหนี (Escape)
- สะท้อนแนวโน้มทางสังคมวิทยา
- หนุ่มสาวจากตะวันตกที่มีการศึกษาดีที่มักเลื่อนการเข้าสู่วงการอาชีพเมื่อมีครอบครัวออกไป
- เป็นการหนีจากความรับผิดชอบหรือหยุดที่จะเลือกการตัดสินใจที่สำคัญในชีวิตชั่วคราว
2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
- นักท่องเที่ยวประเภทนี้มักเลือกที่พักประเภทศูนย์เยาวชน (Youth hostel) เป็นหลัก
- องค์การศูนย์เยาวชนออสเตรเลียปรับปรุงภาพลักษณ์ เพื่อสนองตอบนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
- เป็นธรรมเนียม
3. การทำงาน (Employment) ทำงานระหว่างเรียน และพัฒนาทักษะการทำงาน
4. เน้นการคบหาสมาคม (Social focus) นักแบกเป้ที่ชอบคบหาผู้คนต้องการเพื่อนและทำความรู้จักคนในท้องถิ่น
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานที่รองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยว สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลักในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
1. ระบบไฟฟ้า เพียงพอ ทั่วถึง และใช้การได้ดี
- ในกรณีที่เกิดความต้องการใช้ปริมาณมากต้องเตรียมอุปกรณ์ปั่นไฟให้พอ
- ควรมีการกำหนดเวลาปิดเปิดเพื่อประหยัดพลังงาน
- วางแผนใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2. ระบบประปา
- สะอาด ถูกหลักอนามัย
- มีปริมาณเพียงพอ
- มีการกระจายอย่างทั่วถึงเพื่อให้บริการความต้องการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป
- รีสอร์ท ต้องใช้น้ำสำหรับใช้ 350-400 แกนลอนต่อห้องต่อวัน
- สนามกอล์ฟ 6 แสน – 1 ล้าน แกนลอนต่อวัน
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
- โทรศัพท์มีสาย / ไร้สาย
- ไปรษณีย์
- โทรเลข
- ไปรษณีย์อีเลกโทรนิกส์ (Email)
4. ระบบการขนส่ง
- ระบบการเดินทางทางอากาศ
- ระบบการเดินทางทางบก
- ระบบการเดินทางทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข
- ทันสมัย สะดวก และปลอดภัย
- มีหน่วยรักษาพยาบาลเบื้องต้น
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัย เตรียมยาหรือการรักษาอาการบาดเจ็บรองรับ
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
- การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง
- มนุษย์มักต้องการเดินทางไปในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
- ส่งผลให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่างๆ บนผิวโลก
- ปัจจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยดึงดูดและผลักดันให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทาง
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
- สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ และสำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่ดึงดูดใจ
1.1ลักษณะภูมิประเทศ
- ลักษณะภูมิประเทศในส่วนต่างๆ ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
1.2 ลักษณะภูมิอากาศ
- สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อาจทำให้พบสภาพภูมิประเทศที่สวยงามแตกต่างกัน
2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิธีการดำเนินชีวิต (way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกินอยู่ แต่งกาย ทำงาน ฯลฯ การปฏิบัติสืบต่อกันมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น