วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ (:

          “เชียงใหม่” ฉันเชื่อว่าคนไทยทุกคน ไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อนี้ และก็ต้องรู้จักในนามจังหวัดทางภาคเหนือที่สวย บรรยากาศดี และเป็นที่ที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝันอยากจะไปที่นั่นให้ได้ในชีวิต  และฉันก็เป็นหนึ่งในนั้น ฉันฝันมาตลอด ว่าอยากจะไปเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ อยากไปดูดอกไม้เมืองหนาว อยู่กับบรรยากาศล้านนาโบราณ

          และในวันหนึ่ง ฝันก็เป็นจริง ฉันมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่นั่นจริงๆ เราออกเดินทางโดยรถตู้กับคุณลุงวีระ นาคดี โดยค่ารถตู้เหมาเป็นวัน วันละ 1800 บาท ไม่รวมค่าน้ำมัน

แผนที่กรุงเทพฯ - เชียงใหม่


          พวกเราออกเดินทางเวลา 9 โมงเช้า ขับรถไปเรื่อยๆ และถึงจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 2 ทุ่มและก่อนที่เราจะเข้าโรงแรม ก็ได้แวะที่ศูนย์วัฒนธรรมเพื่อทานอาหารขันโตก (อาหารพื้นเมืองของชาวเชียงใหม่) ซึ่งตั้งอยู่กิโลเมตรที่ ๒ ถนนเชียงใหม่-ฮอด เป็นที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมขงลานนาไทย ประกอบด้วยบ้านทรง ไทยสร้างด้วยไม้สักหลายหลัง ร้านขายของที่ระลึก และหมู่บ้านชาวเขา นอกจากนี้ยังมีการจัดขันโตกดินเนอร์ การแสดงฟ้อนพื้นเมือง และการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐-๒๒.๐๐ น. อีกด้วย

          หลังจากรับประทานอาหารกันเสร็จ ก็ได้เวลาตรงไปยังที่พัก คือโรงแรมปางวิมารเชียงใหม่ สปา รีสอร์ท ซึ่งตั้งอยู่ที่ 197/2 หมู่ 1 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  ซึ่งเป็นโรงแรมที่หรูและสบายมาก   ราคาห้องพักอยู่ที่  1.Valley Deluxe 4000 THB  2.Mountain Deluxe 4850 THB   3.High Mนuntain Deluxe 5650 THB    4.Steam Villa 6250 THB     5.Jacuzzi Villa 9350 THB     6.Panviman Pool Villa 13400 THB     7.Panviman Spa Villa 15550 THB  ซึ่งดิฉันได้นอนห้อง Mountain Deluxe กับครอบครัว


ภาพบรรยากาศโรงแรมมองจากทางห้องพักของดิฉัน



วิวด้านสระว่ายน้ำ สามารถมองวิวทิวทัศน์ได้กว้างไกล สวยงามมาก + บรรยากาศดีด้วย (:



วันต่อมาเราได้ไปเที่ยวที่ปางช้างแม่สา


          พวกเราได้ไปชมการแสดงของช้าง น่ารักมากมาย และชมช้างวาดภาพ ซึ่งฉันก็เพิ่งมีโอกาสได้มาเป็นครั้งนี้เป้นครั้งแรก ไม่คิดว่าคนจะฝึกช้างให้วาดรูปได้ และรูปที่วาดก็ออกมาสวยอีกด้วย ช่างน่าประทับใจจริง ๆ (:



ผลงานที่ทางศูนย์นำมาจำหน่ายเป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว

หลังจากนั้นพวกเราก็ได้ไปนั่งเกวียน


ชมบรรยากาศรอบ ๆทางที่ผ่าน (:




          หลังจากนั้น เราก็กลับที่พัก และได้นอนค้างคืนต่ออีก 1 คืน จนวันรุ่งขึ้น เราก็ได้ไปที่สวนสัตว์เชียงใหม่เพื่อไปดูหลินฮุ่ย !!!

          หลังจากที่เที่ยวกันจนเหนื่อย ก็ได้เวลาเดินทางกลับบ้านซักที !! การเดินทางครั้งนี้ ถือเป็นประสบการณ์และความทรงจำดีๆกับฉันหลาย ๆอย่างที่หาได้ยาก และไม่มีวันลืม หากว่างเมื่อไหร่ดิฉันก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ ลองไปเที่ยวเชียงใหม่ดูนะคะ นอกจากบรรยากาศแล้ว ยังมีอะไรอีกหลายๆอย่างที่ธรรมชาติสร้างมาให้เราค้นหา สุดท้าย .. รักเมืองไทย ก็ต้องเที่ยวเมืองไทยนะคะ (:

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

บทคัดย่อ 

          บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย

ประวัติของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส  เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง   การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว  ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค  ญี่ปุ่น  และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน    เมื่อเดินทางกลับไปถึง โปรตุเกสในปีค..1558  เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล  เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่  แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก  ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal)) ทางใต้ของโปรตุเกส  ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.. 1583 

ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค..1548  ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação”   ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน  ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้  บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา

งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค..1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628)  ภาษาอังกฤษ (1653)  ใน ค..1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อการท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร  ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค..1988  โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal :  470  Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ

งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว  ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิด

ความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง

เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้

จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร  อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลาย งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม  ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่อง ราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091)

การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3  วัน   ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยามเหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538

ดร.เจากิง ดึ กัมปุชชี้ว่า บทบาทของทหารอาสาชาวโปรตุเกสในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชอาจส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุงตำราพิชัยสงครามภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส[7] จนเป็นที่มาของการตั้ง กรมทหารฝารั่งแม่นปืน ใน หนังสือศักดินาทหารหัวเมือง[8] [9] จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 

ความน่าเชื่อถือ

หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ  ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา(2536) อ้างเรื่องยศขุนนางสมัยอยุธยาตอนกลาง  สุเนตร    ชุตินทรานนท์ในเรื่องบุเรงนองกะยอดินนรธา(2538) ก็อ้างเอกสารของปินโตซึ่งระบุตรงกับราล์ฟ ฟิตซ์ (Ralph Fitch)ว่า  พระเจ้าบุเรงนองนำเอาเรื่องการขอช้างเผือกมาเป็นสาเหตุของสงครามระหว่างสยามกับพม่าใน ค.ศ.1569 เป็นต้น หนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา   ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา  การที่ราชสำนักโปรตุเกสสนใจดินแดนทางใต้ของพม่าและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีนก็น่าจะมีผลต่อโครงเรื่องของปินโตเช่นกัน  การที่เขามีฐานะเป็นเพียงกลาสีเรือ นักผจญภัย แสวงโชค มิใช่บุตรขุนนางหรือนักการทูต มิใช่พ่อค้าหรือนายทหารที่ถูกส่งเข้ามาติดต่อกับสยามโดยตรง   ทำให้เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือของเขาเน้นกล่าวถึงสถานที่ต่างๆตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกที่เขาเคยเดินทางไปถึงมากกว่า

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา

ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป  เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น  ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว  เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526  : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้  อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย  เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน  แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย

การกล่าวว่ากองทัพพม่านำกระบือและแรดมาลากปืนใหญ่เพื่อทำสงครามกับสยามในฉบับแปลของโคแกน  ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการข้อเสนอของวูดอาจทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์เห็นคล้อยไปกับคอนเกรฟที่ระบุว่า ปินโตเป็นคนขี้ปด  โชคดีที่ ดร. เจากิง ดึกัมปุชแย้งว่า  ปินโตไม่เคยระบุคำว่า แรดคำศัพท์ที่เขาใช้ คือ คำว่า “bada หรือ abada”นั้น ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตเมื่อกล่าวถึงแรดซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งประเด็นที่มีการแปล “abada” ว่า แรดแต่ในภาษาอาหรับก็มีคำว่า “abadat” หมายถึง สัตว์ที่มีรูปร่างเป็นสีน้ำตาล หรือ สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่หลบหนีไปจนกลายเป็นสัตว์ป่าในเวลาต่อมา  ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง จามรี(yaks)” ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง (beast of burden) ในตาตาเรีย (Tataria) เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวในภาษาโปรตุเกส  และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida” ในที่อื่นๆอีกร่วม12ครั้งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ใหญ่คล้ายแรดหรือสัตว์ต่างชนิดอื่นซึ่งไม่อาจหาคำมาใช้แทนได้

สรุป

ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ  แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี   ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย  แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว


โปรเเกรมทัวร์

ทัวร์ท่องทะเลกระบี่ (ทัวร์ 4 เกาะ) ชมทะเลแหวก โดยเรือ Speed Boat


รหัสโปรแกรมทัวร์ : NKB 01

รายละเอียด : One Day Tour Krabi

ราคา :850- บาท

ชมทะเลแหวก Unseen in Thailand สันทรายที่เชื่อมยาวระหว่างเกาะไก่และเกาะทับ ดำน้ำดูปะการัง พักผ่อนบนเกาะปอดะ ชมถ้ำพระนางและชมการปีนผาที่อ่าวไร่เลย์ กับบรรยากาศที่สนุกสนานเป็นกันเอง + อาหารกลางวันปิกนิก



รายละเอียดโปรแกรมทัวร์

07.50น. - 08.30น.

รถรับคณะ ตามโรงแรมต่างๆ เดินทางสู่ท่าเรือ (ท่าเรือส่วนตัว) 

ในเมือง รับ 08.00น. - 08.15น.    

ในอ่าวนาง รับ 08.30น. - 08.45น. 

ทับแขก รับ 07.50น. - 08.00น.    

คลองม่วง รับ 08.00น. - 08.15น. 

09.00น. 

ลงเรือ Speed Boat ปลอดภัยด้วยเสื้อชูชีพ เดินทางมุ่งหน้าท่องทะเลกระบี่ (ใช้เวลาประมาณ 15 นาที) บนเรือบริการ น้ำดื่มเย็นๆ

09.30น. 

นำท่านสู่หาดถ้ำพระนางกระบี่  ชายหาดที่สวยงามระดับโลก ติดอันดับ 1 ใน 10 ด้านความสวยงาม นำชม  ถ้ำพระนางกระบี่  ถ้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของชาวเรือ กราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล อ่าวไร่เลย์กระบี่  ตะวันออก สถานที่ปีนผาระดับโลก ชมนักปีนผาที่มาจากทั่วโลก ที่มาทดสอบความสวยงามของหน้าผาหินปูนแห่งนี้

10.30น. 

นำท่านชม ทะเลแหวกกระบี่  Unseen in Thailand สันทรายที่เชื่อมยาวระหว่างเกาะไก่กระบี่  เกาะทับกระบี่ และเกาะหม้อกระบี่  เกิดขึ้นได้ทุกวัน นำท่านเดินทางบนสันทรายซึ่งเปรียบว่าท่านได้เดินอยู่กลางท้องทะเล

11.00น. 

ถ่ายรูป เกาะไก่ กระบี่ เกาะหินปูนกลางทะเลที่ถูกทั้งลมและฝน กัดกล่อนเป็นเขารูปร่างเหมือน หัวไก่ เชิญทุกท่านถ่ายรูปตามอัธยาศัย

11.15น.  

นำท่านสู่ เกาะสี่ เกาะหินปูนกลางทะเล เชิญทุกท่านดำน้ำดูปะการังที่สวยงาม ชมฝูงปลาเสือที่มีมากมาย ปลานกแก้ว ชมดอกไม้ทะเลและ ปลาการ์ตูน ที่มีมากมาย 

12.00น. 

นำท่านขึ้น เกาะปอดะกระบี่  บริการ อาหารกลางวันแบบปิกนิก ท่ามกลางบรรยากาศใต้ทิวสน สบายๆ ด้วยเสียงคลื่นและสายลมที่พัด ให้ทุกท่านได้ผ่อนคลาย หลังอาหารเชิญทุกท่านเล่นน้ำตามอัธยาศัย

14.00น. 

เดินทางถึงท่าเรือ โดยสวัสดิภาพ พร้อมกับความประทับใจไปอีกนานเท่านาน



ค่าบริการและเงื่อนไขการบริการ

อัตราค่าบริการ

 - ผู้ใหญ่ 850 บาท 

 - เด็ก อายุ 3 - 12 ปี  500 บาท 

 - ชาวต่างชาติ 1,200 บาท 

 

อัตราค่าบริการรวม :   

 - รถรับ - ส่งที่พัก - ท่าเรือ    

 - ค่าบริการเรือเร็วตามรายการ  

 - อาหารกลางวันแบบปิกนิก 

 - เสื้อชูชีพ, หน้ากากดำน้ำ    น้ำดื่ม, น้ำแข็ง    ผลไม้, เค้กกระบี่ 

 - มัคคุเทศก์ชำนาญงาน   

 - ค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยาน ฯ    

 - ประกันภัยนักท่องเที่ยวแบบกลุ่ม 



สิ่งที่แนะนำให้ติดตัวไปด้วย :  

      เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางท่องเที่ยวของท่านและให้ท่านได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ เราขอแนะนำให้ท่านนำสิ่งเหล่านี้ไปด้วยนะคะ คือ ผ้าขนหนู, ครีมกันแดด, หมวกและแว่นตากันแดด, กล้องถ่ายรูป

 

*คำแนะนำเพิ่มเติม :    

เกี่ยวกับเวลา

 เวลาที่ระบุในโปรแกรมข้างต้นเป็นเวลาโดยประมาณเท่านั้น เวลารับส่งจริงจะขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งที่ตั้งของโรงแรมหรือจุดนัดพบของท่าน ท่านสามารถตรวจสอบเวลารับจริงได้จากเอกสารยืนยันที่จะได้หลังจากได้รับการยืนยันการจอง

เกี่ยวกับตำแหน่งที่นั่งบนเรือ

 เนื่องจากในช่วงเวลาของโปรแกรมทัวร์ สภาพอากาศและสภาพทะเลอาจแปรปรวน 

เกี่ยวกับเด็กและสตรีมีครรภ

 เราไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และหญิงมีครรภ์เดินทางโดยเรือ เนื่องจากในสภาพทะเลในบางช่วงเวลาอาจแปรปรวนและอาจกระแทกคลื่นได้ ยกเว้นเด็กที่อยู่ในความดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด 

เกี่ยวกับอาหาร

 อาหารที่รวมอยู่ในโปรแกรมทัวร์เป็นอาหารไทย-อาหารทะเล หากที่ไม่สามารถรับประทานอาหารชนิดใด หรือต้องการทานมังสวิรัติโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ขณะทำการจอง และอาหารที่จัดให้มุสลิมสามารถรับประทานได้ 


การชำระเงิน 

 บัญชี บริษัท เนเจอร์ไมล์ จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนนวมินทร์ ประเภทออมทรัพย์ บัญชีเลขที่ 077-2 48523-5

 บัญชี นายเอกสยาม ชัยศร ธนาคารกรุงเทพฯ สาขา หัวหมาก ประเภทออมทรัพย์ บัญชีเลขที่ 180 590 485 9

 บัญชี นายเอกสยาม ชัยศร ธนาคารกสิกรไทย สาขา ถ.สุขาภิบาล1บางกะปิ ประเภทออมทรัพย์  บัญชีเลขที่ 077-2-92928-5

 พร้อมแฟ็กซ์ สลิป ใบโอนเงิน Fax: 0-2733-5829


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.tourtooktee.com/thai_program_detail.asp?nID=928

ภาพสวยๆจาก http://www.phudoilay.com/south/krabi/kohpoda.php

และขาดไม่ได้ ผู้ดูแลทัวร์ นายเอกสยาม ชัยศร จากบริษัท เนเจอร์ไมล์ จำกัด มากค่ะ (: