บทที่ ๑ ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว
ในปีพ.ศ.2506ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางฃ และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีและยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจาก
นักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ IUOTต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ.2513 WTO
การท่องเที่ยวมี 3 ลักษณะ คือ
1.การเดินทางจากที่อยู่ปกติไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว
2.การเดินทางไปด้วยความสมัครใจ
3.การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพ
การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
-เดินทางไปพักฟื้น ไปรักษาตัวในสภานที่ต่างๆ
-การเดินทางไปประชุม
-การเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้อง
การเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
-การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวร
-การเดินทางไปประกอบอาชีพ
-การเดินทางโดยไม่สมัครใจ หรือถูกบังคับ
นักท่องเที่ยว (Tourist)
นักท่องเที่ยว คือผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยว พักอาศัย มาเยือน เป็นการชั่วคราว และมาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง ท่องเที่ยว และกิจกรรมนันทนาการ
กลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นฐาน หรืออยู่อาศัยในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้น หรือเป็นคนถิ่นเดิม แต่ไม่ได้อยู่ในสถานที่นั้นแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ไม่มีถิ่นพำนัก และพัก ณ สถานที่นั้น มากกว่า 24 ชั่วโมง
นักทัศนาจร (Excursionist)
นักทัศนาจร คือผู้ที่มาเที่ยวเป็นการชั่วคราว และพักอาศัยอยู่ ณ สถานที่นั้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ
กลุ่มนักทัศนาจร ได้แก่
-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร
-ผู้ที่มาเยือนและจากไป ภายในวันเดียว
ผู้มาเยือนตามถิ่นพำนัก ได้แก่
1.ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่อยู่ในต่างประเทศ และเข้ามาท่องเที่ยวอีกประเทศหนึ่ง
2.ผู้มาเยือนขาออก (Outbound Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปอีกประเทศหนึ่ง
3.ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor) คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่ อาจเรียกว่า ผู้มาเยือนขาเข้า หรือผู้มาเยือนภายในประเทศก็ได้
กลุ่มที่ไม่นับรวมในสถิติการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้โดยสารผ่าน คนเร่ร่อน คนอพยพ นักการทูต ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
1.เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และพักผ่อน (
2.เพื่อธุรกิจ (Business) เป็นการเดินทางที่ร่วมไปกับการทำงาน แต่วัตถุประสงค์หลักคือการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ท่องเที่ยวนั้น และยังรวมไปถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และจัดนิทรรศการ MICE (Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions)
3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ และซับซ้อนมากกว่าการพักผ่อนหรือประชุม เช่น การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
ประเภทการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ ได้แก่
การแบ่งตามสากล ได้แก่
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism) หมายถึง ผู้ที่อาศัยภายในประเทศนั้น เดินทางภายในประเทศของตนเอง
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism) หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ประเทศอื่นแล้วเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศนั้นๆ
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism) หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยในประเทศหนึ่งแล้วเดินทางไปยังต่างประเทศ
การแบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
1.แบบหมู่คณะ เรียกว่า Group Inclusive Tour : GIT แบ่งเป็น 2 แบบ คือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด กรุ๊ปเหมา คือการเที่ยวแบบเป็นของคณะนักท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กัน อาจเป็นการส่วนตัวหรือหน้าที่การงาน และเดินทางร่วมกัน ส่วนกรุ๊ปจัด คือการเดินทางของคณะนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันในทางส่วนตัวและด้านหน้าที่การงาน แต่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่เดียวกัน โดยการซื้อโปรแกรมนำเที่ยวที่ถูกจัดไว้ เมื่อถึงเวลาจึงเดินทางพร้อมกัน
2.แบบอิสระ เรียกว่า Foreign Individual Tourism : FIT นักท่องเที่ยวมักเดินทางตามลำพัก อาจจะวางแผนการเดินทางด้วยตนเองหรือใช้บริการบริษัทนำเที่ยวก็ได้
การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง
1.การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน กิจกรรมมักไม่สลับซับซ้อน เรียบง่าย ตามแบบที่ตนเองชอบ
2.การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ คือกิจกรรมทางธุรกิจทั่วไป และจัดอยู่ในกลุ่ม MICE ส่วนกิจกรรมเสริมอาจจะเป็นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนคลายเครียด ความสนุกสนาน ฯลฯ
3.การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ กิจกรรมจะมีความสลับซับซ้อนและเป็นระบบ มีหลายรูปแบบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
ก. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น การดูนก การดำน้ำดูปะการัง การเดินป่า เป็นต้น
ข. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา เช่น การปีนเขา การอาบน้ำแร่ เป็นต้น
ค. การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม เช่น การศึกษาแหล่งโบราณสถาน การชมการแสดงของแต่ละภาค เป็นต้น
ง. การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การชมวิถีชีวิตในชนบท เป็นต้น
จ. การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้โดยมีการจัดการไว้ล่วงหน้า เช่น การเรียนทำอาหาร การเรียนมวยไทย เป็นต้น
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กิจกรรมสำหรับการท่องเที่ยวอาจมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาแหล่งท่องเที่ยว การซื้อของ การประชุม บางอย่างเป็นธุรกิจ ที่ตอบสนองความต้องการโดยตรงของนักท่องเที่ยว แต่ธุรกิจเป็นธุรกิจที่สนับสนุนให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวดำเนินไปได้ด้วยดี
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงหมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด สินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ณ แหล่งผลิต ซึ่งก็หมายถึง สถานที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แต่สินค้าหรือบริการบางประเภทก็มีการสูญสลาย และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เช่นกัน
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่
1.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
2.องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น
1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น
1.ธุรกิจการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2.ธุรกิจการประชุม สัมมนา
3.การบริการข้อมูลข่าวสาร
4.การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5.การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ขอขอบคุณภาพประกอบ : นายชิน วงศ์สวัสดิ์โสต